พิมพ์

แม้การตีลูกโดยการสะบัดข้อมือจะเป็นพลังเสริมทำให้ตีปิงปองได้แรงมากขึ้นและเมื่อใช้ในการปั่นลูกหมุนจะทำให้ลูกหมุนมากขึ้นก็ตาม แต่การสะบัดข้อมือจะทำให้ความแม่นยำลดลง ดังนั้นจึงไม่ควรใช้การสะบัดข้อมือในการตีโฟร์แฮนด์โดยเฉพาะลูกตบซึ่งได้แรงมาจากการเหวี่ยงท่อนแขนและการถ่ายน้ำหนักมากเพียงพออยู่แล้ว

หากต้องการใช้แรงจากการสะบัดข้อมือให้ได้ประสิทธิผลเต็มที่ ต้องสะบัดข้อมือในจังหวะที่ท่อนแขนล่างเคลื่อนที่เร็วที่สุดเพื่อทำให้ได้แรงเสริมส่งต่อกัน แต่ถ้าสะบัดข้อมือผิดจังหวะ แรงเหวี่ยงจากแขนจะถูกลดทอนลงไปกลายเป็นลูกที่ได้แรงมาจากการสะบัดข้อมือเท่านั้นแทนที่จะได้แรงควบจากการเหวี่ยงแขน นักกีฬาปิงปองจึงควรฝึกใช้การสะบัดข้อมือให้ถูกกาลเทศะด้วย ไม่ควรฝึกสะบัดข้อมือจนกว่าจะสามารถตีลูกโฟร์แฮนด์ได้แม่นยำแล้วเท่านั้น ส่วนการตีแบคแฮนด์หรือการตีลูกสั้นบนโต๊ะจำเป็นต้องใช้แรงจากการสะบัดข้อมือ

วิธีฝึกสะบัดข้อมือที่ถูกต้อง ห้ามเกร็งข้อมือหรือง้างข้อมือไว้ก่อนเพราะจะทำให้แขนเหวี่ยงได้ช้าลง โดยปล่อยข้อมือให้หลวมๆสบายๆ พอเหวี่ยงแขนเข้าในจังหวะอัดแรง ข้อมือก็จะถูกแรงของท่อนแขนผลักไปข้างหลังเป็นการเริ่มต้นอัดแรงที่ข้อมือให้เอง แล้วเมื่อปล่อยแรงในจังหวะเหวี่ยงท่อนแขนออก ข้อมือที่ปล่อยตามสบายนั้นจะถูกแรงเหวี่ยงของแขนท่อนล่างผลักให้ตัวมือถูกเหวี่ยงตามไปด้านหน้า ให้ใช้จังหวะนี้ออกแรงสะบัดข้อมือ

การใช้ข้อมือช่วยในการตีปิงปองทุกลูกเป็นความเข้าใจผิดที่พบได้บ่อยมาก โดยเฉพาะนักปิงปองหน้าใหม่ที่ชอบเลียนแบบแชมป์ปิงปองตามวิดีโอจากYouTube บางคนเข้าใจผิดถึงขนาดเกร็งข้อมืองอลงห้อยไว้ตลอด ส่งผลให้เกิดข้อมือล้อคหรือเกิดการบาดเจ็บที่ข้อมือในระยะยาว อย่าจับไม้แล้วงอข้อมือลงแบบภาพต่อไปนี้จะทำให้ไม่สามารถใช้แรงสะบัดของข้อมือได้เต็มที่เพราะขาดช่วงอัดแรงของข้อมือ

05

การจับไม้ที่ถูกต้อง เมื่อกำไม้ปิงปองไว้ในมือแล้วตัวหน้าไม้ต้องยกขึ้นสูงกว่าข้อมือโดยยังคงรักษาแนวของมือกับแขนท่อนล่างไว้เป็นแนวเดียวกัน (ตามภาพด้านล่าง) ข้อมือจะงอไปข้างหลังเองตามการเหวี่ยงแขนอัดแรงไปข้างหลังและจะงอไปข้างหน้าเองตามการเหวี่ยงแขนไปข้างหน้า ทั้งนี้แนวของมือและท่อนแขนต้องกลับมาเป็นแนวเดียวกันตามเดิมในจังหวะที่ไม้กระทบลูกจึงทำให้สามารถควบคุมทิศทางการตีได้แม่นยำ

04

การเหวี่ยงไม้จะได้แรงจากกล้ามเนื้อเต็มที่ต่อเมื่อไม่เกร็งข้อมือและไม่จับไม้แน่นไว้ตลอดเวลา ภาพที่เห็นว่าเขาห้อยข้อมือลงไปข้างล่างนั้นเกิดจากการปล่อยไม้ลงตามธรรมชาติ ไม่ได้เกร็งหรือตั้งใจงอข้อมือลงแต่อย่างใด พอเหวี่ยงไม้ขึ้นก็จะสะบัดข้อมือขึ้นแล้วกำไม้แน่นขึ้นในจังหวะที่ลูกกระทบไม้

การใช้ข้อมือจะทำให้ความแม่นยำในการตีลูกลดลง ดังนั้นนักปิงปองที่ยังตีลูกไม่แม่นยำ พึงหลีกเลี่ยงการใช้ข้อมือไว้ก่อน โดยเฉพาะการฝึกตีแบคแฮนด์ในระยะแรก ไม่ควรฝึกใช้ข้อมือจนกว่าจะสามารถเหวี่ยงแขนท่อนบนและท่อนล่างเป็น

ถ้าข้อมือยังขาดกล้ามเนื้อยังไม่สามารถออกแรงสะบัดข้อมือได้ชำนาญ ห้ามใช้ข้อมือกับลูกที่ส่งมาแรงและเร็วอย่างเด็ดขาด เพราะยากที่จะควบคุมทิศทางของหน้าไม้ในการสะบัดข้อมือและแรงปะทะของลูกอาจแรงมากจนทำให้ข้อมือบาดเจ็บ

นักปิงปองหน้าใหม่ที่ชอบใช้ข้อมือจะติดนิสัยดัดข้อมือเพื่อตั้งหน้าไม้รับลูก ไม่ยอมขยับลำตัว หรือเคลื่อนตัวตั้งท่าตีลูกให้เหมาะสม มักชอบเอื้อมแขนออกไปแล้วดัดข้อมือตีลูก ทำให้ลูกที่ตีออกไปยาวบ้างสั้นบ้างออกซ้ายออกขวามั่วไปหมด

เนื่องจากการตีโฟร์แฮนด์ทำได้เแรงและเร็วมากอยู่แล้วเพราะสามารถถ่ายแรงมาจากขา ลำตัว และแขนได้เต็มที่ การใช้ข้อมือในการตีโฟร์แฮนด์จึงมีประโยชน์เพียงเล็กน้อยในแง่เพิ่มความหมุนจากการสะบัดข้อมือปั่นลูกให้หมุนมากขึ้นได้บ้าง หรือใช้ดัดข้อมือเพื่อหลอกทิศทางที่จะตีลูกออกไป

การสะบัดข้อมือเพื่อตีลูกทำได้ 2 แบบ

  1. สะบัดข้อมือตามทิศทางของหน้าไม้ จะได้ความแรงเพิ่มขึ้นในการปะทะ
  2. สะบัดข้อมือตามทิศทางของขอบด้านข้างของไม้ปิงปอง จะได้ความหมุนในการปั่นลูก

แม้การสะบัดข้อมือเป็นส่วนสำคัญที่ใช้ในการตีปิงปอง แต่การใช้ข้อมือให้ถูกจังหวะเวลาเป็นสิ่งที่สำคัญกว่า บางครั้งอาจสะบัดข้อมือขึ้นก่อนที่ลูกจะกระทบไม้เพื่อตีลูกที่หมุนน้อยหลอกคู่ต่อสู้ บางครั้งอาจสะบัดข้อมือลงในจังหวะที่ลูกกระทบไม้เพื่อทอนแรงจากการเหวี่ยงแขน

หากต้องการใช้ประโยชน์จากข้อมือ ควรจับไม้ไม่แน่นไม่หลวมเกินไป ฝึกใช้ข้อมือเพิ่มแรงหรือลดแรงปะทะ อย่าเกร็ง

Copyright of www.TableTennisTip.com - www.facebook.com/TableTennisTip/

ฮิต: 18167