ที่ตำแหน่ง 90 องศา ระยะทางจากข้อศอกถึงปลายกล้ามเนื้อ M ยาวที่สุด จึงออกแรงน้อยที่สุดและได้แรงเหวี่ยงมากที่สุด
ตามหลักคานดีดคานงัด
มุมข้อศอก 90 องศา สำคัญอย่างไร
ก่อนอื่นไม่ใช่ว่าจะต้องเกร็งแขนทำมุม 90 องศาไว้ตลอด แต่นักปิงปองที่เข้าใจเรื่องนี้จะสามารถเล่นปิงปองอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตีได้เร็วขึ้น ไม่สูญเสียแรงโดยไม่จำเป็น
แขนท่อนล่างใช้ข้อศอกเป็นจุดหมุน หรือตำแหน่ง F ตามภาพแรก แขนท่อนล่างจะขยับได้ต้องอาศัยกล้ามเนื้อจากแขนท่อนบน ซึ่งปลายกล้ามเนื้อนี้จะยึดไว้ที่แขนท่อนล่างตำแหน่ง AF ซึ่งห่างจากข้อศอกที่เป็นจุดหมุนไม่มากนัก
ที่มุม 90 องศา ระยะห่างจากจุดหมุน F ถึงปลายกล้ามเนื้อ AF จะทำให้เกิดมุมหรือระยะห่างที่ดึงแขนท่อนล่างได้ง่ายที่สุด แต่ถ้าเหยียดแขนออกไป มุมหรือระยะห่างนี้ก็จะลดลง ดูภาพที่ 2
ทดลองได้ง่ายๆ ลองพยายามปิดปกหนังสือที่กางแบะออก ดึงปิดเข้ามาโดยจับห่างจากสันปกเล็กน้อย หรือหาเชือกผูกให้ห่างจากโคนของสันปกเล็กน้อยแล้วดึงเชือกเข้ามาที่สันปก
ระยะห่างมากที่สุดที่มุม 90 องศานี่เองซึ่งทำให้เราสามารถออกแรงเพื่อเคลื่อนแขนท่อนล่างได้โดยออกแรงน้อยที่สุด
ส่วนการเหวี่ยงแขนที่เหยียดยืดแขนออกไปนั้นเป็นการเพิ่มรัศมีของวงเหวี่ยง พอแขนงอเข้ามาจะลดรัศมีลงทำให้การเหวี่ยงเร็วขึ้นไปในตัว
ให้คิดถึงนักเสก็ตที่หมุนตัวอยู่กับที่ พอหุบแขนเข้ามาก็จะหมุนตัวได้เร็วขึ้นเอง
จะยืดแขนไว้ตลอดวงเหวี่ยง หรือจะหุบแขนเข้ามาดีกว่ากัน เชิญหาคำตอบได้จาก https://people.math.gatech.edu/~yingjie/loop.html