จากคำอธิบายในตอนที่ 1

เพื่อให้เกิดการถ่ายเทโมเมนตัมจากลำตัวมาสู่ท่อนแขนโดยไม่เกิดการสูญเสีย ให้ยืดแขนไว้ตลอดในช่วงที่เหวี่ยงแขน จากนั้นในจังหวะก่อนที่ไม้จะกระทบลูกให้งอแขนเพื่อลดรัศมีของวงเหวี่ยง ซึ่งเมื่อรัศมีของวงเหวี่ยงลดลงจะส่งผลทำให้ไม้เคลื่อนที่เร็วขึ้นมาก

เคยสงสัยหรือไม่ว่า เวลาเหวี่ยงแขนในจังหวะอัดแรง จะเหยียดแขนหรือยืดแขนแค่ไหนดี จะต้องยืดแขนจนสุด จนมองเห็นแขนท่อนบนกับแขนท่อนล่างเป็นเส้นตรงเลยไหม

A Geometric definition of shoulder and elbow angles The range of shoulder flexion is

WLBackswing

ห้ามเหยียดแขนจนสุดอย่างเด็ดขาด เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อต้นแขนต้องเสียพลังอย่างมากในการฉุดแขนท่อนล่างขึ้นมา

จากภาพนี้สังเกตให้ดีว่า ในจังหวะอัดแรงที่เหวี่ยงแขนไปข้างหลังนั้น แขนไม่ได้เหยียดจนสุด แต่จะรักษามุมตรงข้อศอกระหว่างแขนท่อนบนกับท่อนล่างไว้แทบจะคงเดิมตลอด ส่วนที่เห็นแขนเคลื่อนไปด้านหลังลำตัวมากๆนั้นเกิดจากการใช้สะบักหัวไหล่อัดแรงไปด้านหลังต่างหาก พลังที่ได้จากการออกแรงจากสะบักหัวไหล่จะมากกว่าแรงจากการเหวี่งแขนหลายเท่านัก (Explosive Power)

ZJLoopBS

จากทั้ง 2 ภาพนี้ ในจังหวะอัดแรงเขาจะเก็บข้อศอกให้ติดลำตัว เพื่อลดรัศมีลง จะช่วยทำให้หมุนตัวได้เร็วขึ้น ส่วนแขนซ้ายที่ไม่ได้ใช้ตีจะยกไว้ตลอดและรักษาระดับเดิมไว้เพื่อช่วยรักษาสมดุล

แนะนำให้อ่าน SPECIAL: ZHANG JIKE — THE KEY TO HIS SUCCESS

Copyright of www.TableTennisTip.com - www.facebook.com/TableTennisTip/

Go to top